วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย ^^



ประวัติการปกครองสมัย

กรุงสุโขทัย


การปกครองของไทยแต่เดิมก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่นๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่
เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความ
คุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควรแก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้อง(Master and slave) อำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับ
ยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน แผ่นดินเป็นหลักและ
ความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่มและหมู่ชน
ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูง จีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋"
"ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชา
นุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม ได้คือ
ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะเรียกเป็นภาษา
อังกฤษ คือ Love of national independence, Toleration and Power of assimilation สำหรับการจัดรูปการปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการ


ปกครองในส่วนกลาง
แบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ



1. ฮินสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงมหาดไทย
2. โม่วสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงกลาโหม
3. ม่านสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการคลัง
4. ยันสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ
5. หว่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงพาณิชย์
6. ฝัดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงยุติธรรม
7. ฮิดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงโยธาธิการ
8. จุ้งสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงสำมะโนครัว
9. ฉื่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงวังหรือราชประเพณี
การบริหารงานของราชการส่วนกลางมีอภิรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดีเจ้า
กรมปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบตามลำดับส่วนการปกครองในภูมิภาคแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล
แต่ละมณฑลมีเมืองเอกโทตรีและจัตวามีหัว หน้าปกครองลดหลั่นกันไปได้แก่เจ้าหัวเมืองเอกเจ้าหัวเมืองโท
เจ้าหัวเมืองตรีและเจ้าหัวเมืองจัตวาแต่ละเมืองแบ่งออกเป็น แขวงมีนายอำเภอเป็นหัวหน้ารองจากแขวง
เป็นแคว้นมีกำนันเป็นหัวหน้าจากแคว้นจึงเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้ารับผิดชอบซึ่งรูปแบบการปก
ครองดังกล่าว นี้มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในแบบปัจจุบันมาก



เขตการปกครองแบบ เมืองราชธานี
(หัวเมืองชั้นใน)


คือเมืองที่ตั้งนครหลวงอันได้แก่กรุงสุโขทัยมีตัวเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑล
เรียกว่า เมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานีไว้ทั้ง4ด้านระยะทางระหว่างเมืองลูกหลวง
กับราชธานี นั้นมีหลักว่าจะต้องไม่เกินระยะที่จะเดินติดต่อถึงกันได้ภายในเวลา 2 วันทั้งนี้เพื่อให้การ
คมนาคมระหว่างเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงได้เป็นไปโดยสะดวกด้วยเหตุนี้วงเขตของราชธานีจึงไม่สู้
กว้างใหญ่นักแต่การจัดระเบียบราชธานี ดังว่านี้มีประโยชน์มากในทางยุทธศาสตร์สมัยนั้น เพราะทำให้
รวมกำลังป้องกันราชธานีได้สะดวกและรวดเร็วเวลามีสงครามกำลังทั้งราชธานีและเมืองที่รายรอบก็รวม
กันเป็นกองทัพหลวง
เมืองที่อยู่ในวงราชธานีสมัยกรุงสุโขทัย ถ้าระบุเมืองในครั้งนั้น ก็คือ
ก. เมืองสุโขทัย เป็นตัวราชธานี
ข. หัวเมืองชั้นในรอบเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านเหนือ มีเมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)เป็นเมืองที่พระมหาอุปราชหรือเรียกง่ายๆว่าเมือง
อุปราชซึ่งมีอยู่เมืองเดียวในสมัยกรุงสุโขทัยและชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่ขุนบาลเมืองเป็น
พระมหากษัตริย์ และแต่งตั้งพระอนุชาสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เป็นอุปราชไปครองเมือง
ศรีสัชชนาลัยมีฐานะสูงเกือบเท่าราชธานี
ด้านตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ด้านใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
ด้านตะวันตก เมืองกำแพงเพชร



เขตการปกครองแบบ เมืองพระยามหานคร
(หัวเมืองชั้นนอก)


คือ เมืองใหญ่ ๆ นอกราชธานีออกไปเรียกว่า เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก เมืองหนึ่งๆ
มีเมืองเล็กๆขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างทำนองเดียวกับมณฑลในสมัยต่อมาซึ่งมีเมืองรวมอยู่ หลายเมือง
เจ้าเมืองเป็นเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เวลาเกิดศึกสงครามราษฎรในเมืองพระยามหานคร เมือง
หนึ่งๆ ก็รวมกันเข้าเป็นกองพลหนึ่ง เมืองพระยามหานครสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ครั้งสมัยพระเจ้า
รามคำแหงมหาราช มีดังนี้
ทิศใต้ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์
เมืองตะนาวศรี
ทิศเหนือ เมืองแพร่
ทิศตะวันออก เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ
เมืองในราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครโดยมีคนไทยเป็น
เจ้าเมืองปกครองทั้งสิ้น


เขตการปกครองแบบ เมืองประเทศราช


คือ เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร อันชาวเมืองเป็นชนต่างชาติมีเจ้าเป็นชาวพื้นเมืองนั้นซึ่ง
พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งปกครองอย่างสิทธิ์ขาดเหมือนอย่างเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเองแต่
ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามกำหนดและเวลา
เกิดสงครามก็เกณฑ์กองทัพออกมาช่วยเท่านั้น
เมืองที่เป็นประเทศราชครั้งสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราชสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ มีดังนี้
ทางทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทางทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองน่าน เมืองเซ่า(คือเมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ


ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย



คำว่าไทย เป็นชื่อรวมของชนเผ่ามองโกล ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา เช่น ไทยอาหม ในแคว้นอัสสัม ไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยโท้ ในแคว้นตั้งเกี๋ย อุปนิสัยปกติมักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักสันติ และความเป็นอิสระ
ความเจริญของชนชาติไทยนี้ สันนิษฐานว่า มีอายุไร่เรี่ยกันมากับความเจริญของ ชาวอียิปต์บาบิโลเนีย และอัสสิเรียโบราณ ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีน
และก่อนชาวยุโรป ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพวกอนารยชนอยู่ เป็นระยะเวลา ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่ชนชาติไทยได้เคยมีที่ทำกินเป็นหลักฐาน มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และมีระเบียบแบบแผนอยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบัน
เมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทยได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชาน เดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแม่น้ำแยงซีเกียง และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณที่แห่งนั้น แล้วละเลิกอาชีพเลี้ยงสัตว์แต่เดิม เปลี่ยนมาเป็นทำการกสิกรรม ความเจริญก็ยิ่งทวีมากขึ้น มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และได้ขยายที่ทำกินออกไปทางทิศตะวันออกตามลำดับ
ในขณะที่ชนชาติไทยมีความเป็นปึกแผ่นอยู่ ณ ดินแดนและมีความเจริญดังกล่าว ชนชาติจีนยังคงเป็นพวกเลี้ยงสัตว์ ที่เร่ร่อนพเนจรอยู่ตามแถบทะเลสาบแคสเบียน ต่อมาเมื่อ ประมาณกว่าหนึ่งพันปีที่ไทยอพยพเข้ามาอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเรียบร้อยแล้ว ชนชาติจีนจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในลุ่มน้ำดังกล่าวนี้บ้าง และได้พบว่าชนชาติไทยได้ครอบครอง และมีความเจริญอยู่ก่อนแล้ว ในระหว่างระยะเวลานั้น เราเรียกตัวเองว่าอ้ายลาว หรือพวกมุง ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ ถึงสามอาณาจักร ด้วยกันคือ
อาณาจักรลุง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง (หวงโห)
อาณาจักรปา ตั้งอยู่ทางใต้ลงมาบริเวณพื้นที่ทางเหนือของมณฑลเสฉวน อาณาจักรปาจัดว่าเป็นอาณาจักรที่สำคัญกว่าอาณาจักรอื่น
อาณาจักรเงี้ยว ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ทั้งสามอาณาจักรนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น จึงได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมาทางทิศตะวันออก โดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแกนหลัก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น